ไถ่ชีวิตโคกระบือ หน้าโรงเชือด วัฒนามีทโปรดักท์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
ไถ่ชีวิตโคกระบือ หน้าโรงเชือด วัฒนามีทโปรดักท์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
- Advertisement -2

การทำบุญมีหลายวิธี แล้วแต่ศรัทธาของแต่ละท่าน ส่วนตัวผมถนัดแบบนี้ ไถ่ชีวิตโคกระบือ แต่ก่อนจะไถ่ชีวิตสัตว์ใหญ่นั้น ผมก็ต้องมั่นใจมากๆว่าปัจจัยเงินที่นำไปไถ่ชีวิตนั้น ส่งถึงน้องวัว-กระบือจริงหรือไม่

ผมก็ขอทำวิทยาทานนี้ไว้ให้เผื่อมีท่านใดอยากทำบุญต่อชีวิตสัตว์ใหญ่นะครับ

- Advertisement -3

คำถามหลักที่ผมได้ยินบ่อยที่สุดตอนชวนเพื่อนๆผมร่วมบุญ “ไถ่ชีวิตโคกระบือ แล้วน้องไปไหน” นี้เป็นคำถามสำคัญ เพราะเรามักจะเจอการทำบุญแบบนี้เป็นลักษณะเวียนสัตว์ทำบุญ เงินเข้ากระเป๋าเจ้าภาพ ที่พูดอย่างนี้เพราะไม่มีใครมาแจกแจงรายรับเลย ซึ่งผมก็ไม่เห็นด้วย

วันนี้ผมมาไถ่ชีวิตน้องที่หน้าโรงเชือดของ วัฒนามีทโปรดักท์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

ช่วงเช้าผมไปเที่ยวก่อนที่ อุทยานเขาหินงู

อุทยานเขาหินงู
อุทยานเขาหินงู

ซึ่งอุทยานเขาหินงูนี้อยู่ห่างจาก โรงเชือดวัฒนามีทโปรดักท์ประมาณ20กม. ขับรถประมาณ 20นาที

วัฒนามีทโปรดักท์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
วัฒนามีทโปรดักท์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

ไถ่ชีวิตโคกระบือ

ในวันนี้ผมเดินทางมาเพียงคนเดียวและได้เตรียมปัจจัยไว้สำหรับถวายพระท่านโดยนำมาเองจากกรุงเทพฯ ท่านใดไม่ได้เตรียมไว้ก็สามารถจัดซื้อจัดหาได้ที่นี่ได้เลย ส่วนการนิมนต์พระท่านนั้น จะต้องแจ้งล่วงหน้าก่อนนะครับ ที่นั้นไม่ใช่วัด แต่มีวัดอยู่โดยรอบ ทางเจ้าหน้าที่เค้าจะทำการนัดหมายพระท่านให้ และขอให้ตรงต่อเวลา เมื่อทุกคนพร้อมก็จะมีกระบวนการดังนี้

ไถ่ชีวิตโคกระบือ หน้าโรงเชือด วัฒนามีทโปรดักท์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
ไถ่ชีวิตโค-กระบือ หน้าโรงเชือด วัฒนามีทโปรดักท์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

ไถ่ชีวิตโคกระบือ

เมื่อขั้นตอนพิธีสงฆ์เสร็จแล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนการแนะนำโครงการของทาง วัฒนามีทโปรดักท์ ครับโดยจะมีเจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลอย่างละเอียด

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าวัวตัวไหนเป็นตัวที่เราบริจาคให้โครงการธนาคารโค-กระบือฯ

วัว-กระบือที่บริจาคนั้นจะถูกลงทะเบียนเช่นเดียวกับเราที่มีหมายเลขประจำตัวประชาชนครับ เจ้าหน้าที่จะทำการฝังไมโครชิบและตอกป้ายเลขที่ไว้ที่หูน้อง

ไถ่ชีวิตโค-กระบือ หน้าโรงเชือด วัฒนามีทโปรดักท์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
ไถ่ชีวิตโค-กระบือ หน้าโรงเชือด วัฒนามีทโปรดักท์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

ตั้งชื่อน้องว่า “น้ำตาล”

ตอบคำถามก่อนเลยว่า เมื่อทำบุญไถ่ชีวิตโค-กระบือแล้ว น้องจะไปไหน

  • กรณีไถ่เต็มตัว(ซื้อทั้งตัวหรือไถ่เป็นตัว ไม่ได้ร่วมบุญกับคนอื่นๆ) นำกลับบ้านได้เลย กรณีมีที่รับสัตว์กลับไปดูแลเอง ค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับสเปคสัตว์ที่ปลายทางสามารถรับได้ แต่ต้องดูรายละเอียดปลายทางด้วยว่าสัตว์จะเข้าไปในพื้นที่ควบคุมหรือไม่? ทางปศุสัตว์อนุญาตหรือเปล่า? กรณีนี้แนะนำให้ติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ จะได้รายละเอียดครบถ้วนกว่า 095-827-6263 (คุณอ้น)
  • ยกให้ โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ (ร.9) ธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ เป็นโครงการตามพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 ภายใต้การกำกับดูแลของกรมปศุสัตว์ตามที่ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งไว้ ธนาคารโค-กระบือฯ เปิดให้เกษตรกรผู้มีความต้องการ สามารถยืมโค-กระบือจากโครงการฯไปใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย โดยเกษตรกรต้องทำสัญญายืมโค-กระบือจากธนาคาร และต้องปฎิบัติตามสัญญาอย่างเคร่งครัด เกษตรกรผู้ที่ผ่านเกณฑ์การคัดสรรของโครงการฯเท่านั้นถึงจะมีสิทธิ์ได้รับการสนับสนุนโค-กระบือจากโครงการฯ และหากมีการผิดสัญญา นำไปฆ่าไปขาย เกษตรกรต้องชดใช้โดยอาจต้องโทษทั้งคดีแพ่งและอาญา ปัจจุบันโครงการฯรับบริจาคโค-กระบือจากผู้มีจิตศรัทธา โดยจะมุ่งเน้นการรับบริจาคเพื่อนำไปใช้ขยายพันธุ์เป็นหลัก จึงรับบริจาคเฉพาะโค-กระบือเพศเมียสาว ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีสายพันธุ์ดี สามารถนำไปใช้เป็นแม่พันธุ์ในอนาคตได้

สัญญายืมโค-กระบือจะมีอายุ 5 ปี

  • โดยไม่ได้ยกกรรมสิทธิ์โค-กระบือนั้นๆให้แก่เกษตรกร จึงทำให้น้องยังมีความคุ้มครองในฐานะทรัพย์สินของหลวง มีเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์คอยติดตามดูแล ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำการเลี้ยง โดยเกษตรกรจะได้สิทธิในลูกโค-กระบือที่ได้จากแม่พันธุ์ที่ได้รับไป
  • เมื่อครบระยะสัญญา ทางเกษตรกรจะต้องส่งคืนโค-กระบือให้แก่โครงการเพื่อนำไปแจกจ่ายให้เกษตรกรรายอื่นๆได้ใช้ประโยชน์ต่อ โดยทางโครงการจะขอแลกเปลี่ยนโค-กระบือที่ให้แก่เกษตรกรยืมไปกับโค-กระบือรุ่นลูกที่ได้จากแม่พันธุ์ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ขยายพันธุ์ต่อยอดได้มากที่สุด

กรณีมอบน้องให้โครงการธนาคารโค-กระบือฯ

วัว 27,000 บาท

ควาย 30,000 บาท

น้องๆทุกตัวจะได้รับการตรวจรับตามเกณฑ์ของโครงการตามพระราชดำริ มีอายุ ขนาด น้ำหนัก อยู่ในเกณฑ์ มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีสายพันธุ์ที่ดีเหมาะแก่การนำไปเป็นแม่พันธุ์

ค่าใช้จ่ายนี้รวมเบ็ดเสร็จ

(ไม่มีค่าใช้จ่ายเรียกเก็บเพิ่มเติม)

  • ค่าตรวจสุขภาพ
  • ค่าเจาะเลือด
  • ฉีดวัคซีน ยาถ่ายพยาธิ ยาบำรุง
  • กักกันโรคอย่างน้อง 21 วัน ในคอกกักกัน
  • ค่ารักษาตามอาการ (กรณีมีอาการป่วย)***
  • ค่าอาหารและค่าดูแลระหว่างการกักโรค
  • ค่าขนส่งไปยังเกษตรกรของโครงการทั่วประเทศ

แนะนำครับว่า เดินทางไปทำบุญด้วยตัวเองในครั้งแรกก่อน เพื่อความสบายใจครับ ส่วนตัวผมเองก็ไม่ทำบุญมั่วๆ ตามเฟสที่ยิงโฆษณานะครับ อาจจะมีพวกมิจฉาชีพแฝงตัวมารับทานเอาเข้ากระเป๋า

สำหรับเพื่อนๆที่ทุนทรัพย์ไม่มากก็สามารถทำบุญได้ครับ ทำตามกำลังศรัทธาครับ

ติดตามตรวจสอบยอดรับฝากเงินได้ที่

เฟสบุ๊คเพจ : ศูนย์ไถ่ชีวิตโค-กระบือ โรงฆ่าสัตว์วัฒนามีทโปรดัก

www.facebook.com/wattanameat

ทางศูนย์เค้าจะอัพโหลด Statement ให้ดูครับว่ามียอดเข้าเท่าไหร่แล้ว คุณสามารถตรวจสอบยอดเงินทั้งหมดได้

ในกรณียอดน้อยๆ ทางศูนย์เค้าจะรวบรวมเป็นก้อนเดียวตอนสิ้นเดือนจะนำมาสรุปยอดแล้วนำไปไถ่วัวให้ครับ

พิกัดการเดินทาง https://goo.gl/maps/N8jqfhk5dD936WNWA

ทำบุญให้สบายใจ ก็ต้องมาดูให้ถึงสถานที่จริง ใครสนใจก็ติดต่อกันเองโดยตรงนะครับ สาธุ

- Advertisement -4