Tag: เขาหินปูน

ถ้ำเรือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล ภูเขาผาท่าพลเป็นเขาหินปูน มีอายุราว 360-286 ล้านปีมาแล้ว เป็นภูเขาที่ทอดตัวยาวตามแนวเหนือ-ใต้ ภูเขาหินปูนบริเวณนี้ ส่วนมากเกิดจากการทับถมของเปลือกหอย พลับพลึงทะเล หรือปะการัง มีการตกตะกอนทางเคมีอยู่น้อยมาก จากการศึกษาและจำแนกซากดึกดำบรรพ์ ทำให้ทราบว่าบริเวณนี้เคยเป็นทะเลมาก่อน ถ้ำเรือ ถ้ำเรือเป็นจุดที่พบซากดึกดำบรรพ์ ที่พบฟอสซิลหอยสองฝา สาหร่ายทะเล ปลิงทะเลมากกว่าถ้ำอื่น ฟอสซิลพวกนี้ปรากฏอยู่ตามผนังถ้ำ และถือว่าเป็นถ้ำที่สวยที่สุดและมีขนาดความยาวของถ้ำประมาณ 200-300 เมตรซึ่งถือว่ามีความยาวใช้ได้เลยทีเดียวครับ การที่ได้ชื่อว่าถ้ำเรือ เป็นเพราะว่าภายในถ้ำพบรูปร่างคล้ายเรือคว่ำอยู่บนเพดานถ้ำ ซึ่งการเกิดรูปรอยเรื่องคว่ำอยูบนเพดานถ้ำนั้น เกิดจากถ้ำแห่งนี้มีน้ำท่วมซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในผนังถ้ำที่เป็นหินปูนมีการละลายซ้ำส่วนใดที่ละลายได้ง่าย จะขยายว้างขึ้นจนดูคล้ายรูปเรือคว่ำ อำเภอเนินมะปรางอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 80 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด การเดินทางเริ่มจากตัวเมืองพิษณุโลกไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ถึงอำเภอวังทอง ระยะทาง 20 กิโลเมตร แยกขวาไปยังอำเภอสากเหล็กอีก 38 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1115 อีก 17 กิโลเมตร ถึงโรงเรียนเนินมะปรางศึกษาวิทยา (ก่อนถึงตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร) มีแยกขวาไปถ้ำผาท่าพลอีก 10 กิโลเมตร […]
Read more

บ้านมุง หุบเขาอวตาล แห่งเมืองสองแคว

บ้านมุง เป็นหมู่บ้านเล็กๆในอำเภอเนินมะปราง เดิมเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ตั้งมาประมาณ 42 ปี รายล้อมด้วยภูเขาหินปูน ที่มีลักษณะภูมิประเทศประมาณร้อยละ 45 เป็นภูเขาหินปูนอายุกว่า 300 ล้านปี จากบ้านมุงไกลออกไปอีก 2 กิโลเมตร จะเจอถ้ำต่างๆเช่น ถ้ำเดือนถ้ำดาวซึ่งประกอบไปด้วยหินงอกหินย้อย ซึ่งมีความสวยงามอย่างยิ่ง ช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการชมทะเลหมอกของอำเภอเนินมะปรางจังหวัดพิษณุโลก จะอยู่ที่ช่วงเริ่มต้นของฤดูฝนคือประมาณกลางเดือนมิถุนายนเลยไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เต็มอิ่ม 8 เดือน!! โดยเฉพาะช่วงเวลาหลังฝนตก ทะเลหมอกของที่นี่จะมีความสวยงามเป็นพิเศษ อ.เนินมะปราง เป็นอำเภอที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทั้งบนดินและในดิน มีลักษณะภูมิศาสตร์ที่หลากหลาย โดยเฉพาะด้านธรณีวิทยา จะพบว่า ลักษณะดินที่นี่มีทั้งดินจากภูเขาหินปูน ดินจากภูเขาดินลูกรัง (ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง) โดยในส่วนพื้นที่ราบนั้นส่วนใหญ่เป็นที่ดินแล้ง และดินโคลนจากภูเขาผสมดินดำตามพื้นที่ราบเชิงเขา ประชากรส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งทำนา ทำไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด และทำสวนผลไม้
Read more

TAGS

TRENDING