Tag: บ้านมุง

บ้านมุง สถานที่น่าเที่ยว หุบเขาแห่ง Unseen

รู้จัก “หุบเขาอวตาร” สถานที่ท่องเที่ยวดีๆ ที่คุณต้องไปเยือน นับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกที่หนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก สำหรับใครหลายๆ คนที่อยากจะพักผ่อน นอกจากจะหยิบมือถือขึ้นมาอ่านรีวิวสนุกๆ แล้ว การเข้าหาธรรมชาติ ขึ้นไปบนเขาเพื่อชมวิวสูดอากาศ ชมทะเลหมอกอันสวยงามช่วงหน้าฝนก็ถือว่าเป็นไอเดียที่ดีไม่น้อย โดยหุบเขาบ้านมุงถือว่าเหมาะสมสุดๆ อาจเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ใครบางคนอาจไม่ค่อยคุ้นชื่อเท่าไหร่นัก แต่ถ้าหากได้มาที่นี่แล้วหลายคนต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าติดใจฟินสุดๆ หากมีเวลาว่างจะหาโอกาสมาอีกสักครั้ง ที่นี่เป็นหุบเขาหินสูงใหญ่ ซึ่งเล่าต่อๆ กันมาว่ามีอายุราว 300 ปี ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเนินมะปรางของเมืองพิษณุโลก ถึงแม้จะมีพื้นที่ไม่กว้างใหญ่สักเท่าไหร่ แต่ว่าก็มีแหล่งท่องเที่ยวดีๆ เยอะมาก จุดเด่นจริงๆโดยเฉพาะภูเขาที่สูงเเละสวยงามมาก บริเวณเทือกเขาจะมีถ้ำแปลกๆ มีหินหยาดย้อยบนเพดานถ้ำ นอกจากนั้นบริเวณโดยรอบจะเป็นป่าไม้มีธรรมชาติอันร่มรื่น เป็นทุ่งนาที่เขียวสวยสดงดงามแล้ว โดยเฉพาะหน้าฝนจะมีหมอกหนาเต็มไปหมดถ้าหากอยากชมแบบชัดๆจัดเต็มก็ต้องขึ้นไปข้างบน จะเห็นภาพทะเลหมอกยามเช้า ซึ่งเป็นภาพหาดูได้ยากมาก ถ้าหากใครอยากเที่ยวชมบรรยากาศอันร่มรื่นโดยรอบภายในพื้นที่นั้น เขาจะมีรถอีแต๋นไว้คอยบริการ ขับพาคุณนั่งเที่ยวชมให้ดื่มด่ำกับทัศนียภาพโดยรอบของอำเภอเนินมะปราง แบบว่าคุณจะได้สัมผัสถึงภูมิประเทศของแถบบริเวณนั้นแบบใกล้ชิดเป็นธรรมชาติกันเลยทีเดียว โดยที่นั้นจะมีจุดท่องเที่ยวสำคัญๆที่ไม่ห่างไกลกันนัก อย่างเช่น บ้านไร่ตะวัน หากใครเป็นประเภทแบบชอบเซลฟี่ที่นี่เหมาะเหม็งที่สุดยิ่งเป็นช่วงที่ตอนดอกตะวันบานเต็มที่ด้วยแล้ว โอ้! งามตามากๆ หรืออยากจะมาเซ็ทสถานเพื่อถ่ายพรีเวดดิ้งรับรองว่าทุ่งทานตะวันนี้สามารถเป็นโลเคชั่นแบบกลางแจ้งได้ดีเลยทีเดียวครับ นอกจากนี้ยังมีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นทะเลหมอกและพื้นที่ภูมิประเทศของชุมชนจากมุมสูงได้อย่างชัดเจน ที่ตรงนี้เรียกว่า บ้านสวนชมวิวหรือบ้านรักไทยตั้งอยู่บริเวณไม่ห่างจากบ้านเผ่าไทยมากนัก ที่ตรงนั้นเขาจะมีจุดชมวิวมากมายและพื้นทีเป็นบริเวณกว้างสามารถกางเต้นท์นอนได้สบาย ส่วนไฮไลท์สำคัญอยู่ที่มีชิงช้าสวรรค์ให้นั่งชมวิวทำให้ได้บรรยากาศอีกแบบ ส่วนอีกที่หนึ่งก็คือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล ซึ่งภายในนั้นมีเนื้อที่ประมาณ 1,775 ไร่เป็นป่าที่มีความเป็นธรรมชาติ และงดงามที่สำคัญมีสัตว์ป่าพันธุ์หายากอยู่ในนั้นด้วย […]
Read more

ถ้ำเรือ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล ภูเขาผาท่าพลเป็นเขาหินปูน มีอายุราว 360-286 ล้านปีมาแล้ว เป็นภูเขาที่ทอดตัวยาวตามแนวเหนือ-ใต้ ภูเขาหินปูนบริเวณนี้ ส่วนมากเกิดจากการทับถมของเปลือกหอย พลับพลึงทะเล หรือปะการัง มีการตกตะกอนทางเคมีอยู่น้อยมาก จากการศึกษาและจำแนกซากดึกดำบรรพ์ ทำให้ทราบว่าบริเวณนี้เคยเป็นทะเลมาก่อน ถ้ำเรือ ถ้ำเรือเป็นจุดที่พบซากดึกดำบรรพ์ ที่พบฟอสซิลหอยสองฝา สาหร่ายทะเล ปลิงทะเลมากกว่าถ้ำอื่น ฟอสซิลพวกนี้ปรากฏอยู่ตามผนังถ้ำ และถือว่าเป็นถ้ำที่สวยที่สุดและมีขนาดความยาวของถ้ำประมาณ 200-300 เมตรซึ่งถือว่ามีความยาวใช้ได้เลยทีเดียวครับ การที่ได้ชื่อว่าถ้ำเรือ เป็นเพราะว่าภายในถ้ำพบรูปร่างคล้ายเรือคว่ำอยู่บนเพดานถ้ำ ซึ่งการเกิดรูปรอยเรื่องคว่ำอยูบนเพดานถ้ำนั้น เกิดจากถ้ำแห่งนี้มีน้ำท่วมซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในผนังถ้ำที่เป็นหินปูนมีการละลายซ้ำส่วนใดที่ละลายได้ง่าย จะขยายว้างขึ้นจนดูคล้ายรูปเรือคว่ำ อำเภอเนินมะปรางอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 80 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด การเดินทางเริ่มจากตัวเมืองพิษณุโลกไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ถึงอำเภอวังทอง ระยะทาง 20 กิโลเมตร แยกขวาไปยังอำเภอสากเหล็กอีก 38 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1115 อีก 17 กิโลเมตร ถึงโรงเรียนเนินมะปรางศึกษาวิทยา (ก่อนถึงตัวอำเภอ 2 กิโลเมตร) มีแยกขวาไปถ้ำผาท่าพลอีก 10 กิโลเมตร […]
Read more

บ้านมุง หุบเขาอวตาล แห่งเมืองสองแคว

บ้านมุง เป็นหมู่บ้านเล็กๆในอำเภอเนินมะปราง เดิมเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ตั้งมาประมาณ 42 ปี รายล้อมด้วยภูเขาหินปูน ที่มีลักษณะภูมิประเทศประมาณร้อยละ 45 เป็นภูเขาหินปูนอายุกว่า 300 ล้านปี จากบ้านมุงไกลออกไปอีก 2 กิโลเมตร จะเจอถ้ำต่างๆเช่น ถ้ำเดือนถ้ำดาวซึ่งประกอบไปด้วยหินงอกหินย้อย ซึ่งมีความสวยงามอย่างยิ่ง ช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการชมทะเลหมอกของอำเภอเนินมะปรางจังหวัดพิษณุโลก จะอยู่ที่ช่วงเริ่มต้นของฤดูฝนคือประมาณกลางเดือนมิถุนายนเลยไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เต็มอิ่ม 8 เดือน!! โดยเฉพาะช่วงเวลาหลังฝนตก ทะเลหมอกของที่นี่จะมีความสวยงามเป็นพิเศษ อ.เนินมะปราง เป็นอำเภอที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทั้งบนดินและในดิน มีลักษณะภูมิศาสตร์ที่หลากหลาย โดยเฉพาะด้านธรณีวิทยา จะพบว่า ลักษณะดินที่นี่มีทั้งดินจากภูเขาหินปูน ดินจากภูเขาดินลูกรัง (ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง) โดยในส่วนพื้นที่ราบนั้นส่วนใหญ่เป็นที่ดินแล้ง และดินโคลนจากภูเขาผสมดินดำตามพื้นที่ราบเชิงเขา ประชากรส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทั้งทำนา ทำไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด และทำสวนผลไม้
Read more

TAGS

TRENDING