ความสำคัญ วันปิยมหาราช 23 ตุลาคม

    2089
    0

    ความสำคัญ

    วันปิยมหาราช เป็นวันสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในทุกๆ ปีหน่วยงานราชการจะมีการวางพวงมาลาดอกไม้ ที่พระบรมรูปทรงม้าอย่างพร้อมเพรียง เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-รัชกาลที่-5

    วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี ภาษาอังกฤษคือ Chulalongkorn Day เป็นวันสำคัญ และวันหยุดราชการวันหนึ่งของไทย โดยวันนี้เป็นวันที่คนไทยรู้จักกันดีคือ “วันเลิกทาส” ตั้งแต่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 และห้ามมีการซื้อขายทาสอีกในประเทศไทย

    ประวัติของวันปิยมหาราช

    วันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทยหลายด้าน และสิ่งที่โดดเด่นคือ การประกาศเลิกทาส เป็นการหยุดวงจรการเป็นทาส เพราะเมื่อสมัยก่อนหากพ่อแม่เป็นทาส ลูกที่เกิดมาก็ต้องเป็นทาสต่อไปเรื่อยๆ ทางราชการจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคมของทุกปีเป็นหนึ่งในวันระลึกถึงความสำคัญของเหตุการณ์ในชาติ โดยเรียกว่า “วันปิยมหาราช” พร้อมทั้งกำหนดให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการ

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-รัชกาลที่-5

    การเลิกไพร่ เลิกทาส

    แต่ดั้งเดิมนั้นประเทศไทยของเรา มีพลเมืองที่เป็นชนชั้นทาสมากกว่า 30% ของพลเมืองทั้งประเทศ เนื่องจากการได้รับวรรณะทาสนั้นจะถูกสืบจากสายเลือด หากพ่อแม่เป็นทาส ลูกก็จะเป็นทาสด้วย โดยทาสนั้นแบ่งออกเป็น 7 ประเภทใหญ่ๆ

    1. ทาสสินไถ่: เกิดจากการขายตัวเป็นทาส ทาสประเภทนี้มักยากจน
    2. ทาสในเรือนเบี้ย: เกิดจากการที่แม่เป็นทาส พ่อเป็นนายทาส
    3. ทาสมรดก: เกิดจากการส่งต่อมรดกของนายทาสที่เสียชีวิตลง ส่งให้นายทาสคนต่อไป
    4. ทาสท่านให้: ทานที่ได้รับมาจากผู้อื่น
    5. ทาสทัณฑ์โทษ: กรณีที่บุคคลนั้นถูกลงโทษ แต่ไม่สามารถหาเงินมาชดใช้ได้หมด ถ้าหากมีนายทาสมาช่วยเหลือ ถือว่าบุคคลนั้นกลายเป็นทาสของนายทาสคนนั้น
    6. ทาสที่ช่วยไว้จากความอดอยาก: คือการขายตนเองให้นายทาส เพื่อหลีกหนีจากความอดอยากที่เผชิญอยู่
    7. ทาสเชลย: เกิดจากการที่ประเทศหรือพลเมืองนั้นๆ แพ้สงคราม จึงถูกผู้ชนะสงครามนำคนเหล่านั้นไปเป็นทาสรับใช้

    การจะหลุดออกจากการเป็นทาสนั้นมี 6 วิธี

    1. การหาเงินมาไถ่ถอนตนเอง
    2. การบวชที่ต้องได้รับการยินยอมจากนายทาส
    3. การหลบหนีจากการเป็นเชลยในสงคราม
    4. การแต่งงานกับชนชั้นสูงกว่า
    5. การแจ้งความนายจ้างว่าเป็นกบฏ และตรวจสอบว่าเป็นจริง
    6. การประกาศจากรัชกาลที่ 5 ให้มีการเลิกทาส

    ด้านการทหารและการปกครองประเทศ

    – จัดตั้งกรมเสนาธิการทหารบกแบบต่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก
    – ตั้งโรงเรียนนายร้อยทหารบกและทหารเรือ
    – จัดตั้งกระทรวง กรม กองต่างๆ
    – จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลเพื่อดูแลส่วนภูมิภาค
    – แยกงบประมาณแผ่นดินและเงินส่วนพระองค์ออกจากกัน

    ด้านเศรษฐกิจและการคลัง

    – จัดตั้งธนาคารครั้งแรก ชื่อ ธนาคารสยามกัมมาจล
    – ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นครั้งแรกในพระบรมมหาราชวัง และขยายโรงเรียนสู่ภูมิภาคต่างๆ
    – ส่งเอกอัครราชทูตไปประจำต่างประเทศเป็นครั้งแรก

    ด้านคมนาคมและสาธารณูปโภค

    – เสด็จประพาสประเทศต่างๆ เพื่อนำวิทยาการสมัยใหม่มาพัฒนาประเทศ
    – สร้างถนน สะพานข้ามคลองหลายแห่งในกรุงเทพฯ
    – สร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ เชียงใหม่
    – ก่อตั้งการประปา
    – ก่อตั้งการไฟฟ้า จ่ายไฟครั้งแรก พ.ศ. 2433
    – สร้างโรงพยาบาลศิริราช
    – ก่อตั้งการไปรษณีย์


    ด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม

    สังคายนาพระไตรปิฎกด้วยอักษรไทยเป็นครั้งแรก และตราพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-รัชกาลที่-5

    คาถาสักการะบูชา ร.5

    พระคาถาบูชาพระพุทธเจ้าหลวง แบบย่อ

    “พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ” หรือแบบเต็ม “นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

    อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ พระสะยามะมินโท วะโร อิติ พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง สะหัสสะกายัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ มาสีสะมานัง”

    พระคาถาอธิษฐานขอพร แต่ห้ามบนบาน

    “นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ) พระสยามะมินโท วะโร อัตตัง พุทธะสังมิ อิติ อะระหัง วะรัง พุทโธ นะโม พุทธายะ ปิโย เทวามนุสสานัง”

    จงเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ปิโย นาคะสัมปันนานัง จงบังเกิดความรักที่มีอนุภาคสูงสุด ปิโย พรหมานะมุตตะโม จงบังเกิดความรักกับผู้มีอำนาจท่านท้าวมหาพรหม เจ้าจอม อินทรา นาค ครุฑ และคนธรรพ์ ปินันทิยัง นะมามินัง ความรัก ความยินดี ความเมตตา จงบังเกิดในเรือนร่างข้าพเจ้าทุกส่วนแม้ปลายเส้นผม

    “ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (5 จบ) ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาท ข้าพระพุทธเจ้า (นาย นาง นางสาว) ชื่อ…นามสกุล… ต้องการให้พระองค์ท่านช่วยเรื่อง… อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะ นาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ ปิยะ มะมะ นะโม พุทธายะ (3 จบ) พระพุทธเจ้าขอรับด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะขอให้บุญบารมีขององค์เสด็จพ่อ ร.5 สูงยิ่งๆ ขึ้น และแกร่งกล้ายิ่งๆ ขึ้น”